3.9G คืออะไร
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-26 (ปรับรูปแบบ)
# 317 3.9G คืออะไร
ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของคนทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนต้องพก 2 เครื่อง เพื่อใช้ในการทำงาน และใช้ส่วนตัว ส่วนนักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่ถูกยอมรับว่ามีกำลังซื้อสูงสุด เพราะเปลี่ยนมือถือตามแฟชั่น ผู้ผลิตออกรุ่นใหม่มาเป็นต้องเกาะกะแสไม่เคยพลาด ไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่จะเปลี่ยนแต่ละทีคิดแล้วคิดอีก กำเนิดของโทรศัพท์เกิดในปีพ.ศ.2419 โดยนักประดิษฐ์ชื่ออเล็ก ซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) แล้วในปี พ.ศ. 2420 โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alwa Edison) ก็นำมาพัฒนาต่อจนสามารถใช้งานได้จริง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้โทรศัพท์ในปีพ.ศ.2450 โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้นำเครื่องโทรศัพท์ระบบไฟกลาง (CENTRAL BATTERY: CB) ติดตั้งเครื่องชุมสายระบบไฟกลางวัดเลียบ ซึ่งเป็นเครื่องชุมสายแห่งแรกในประเทศไทย
แต่ละยุคมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ยุคแรก หรือ 1G ใช้ Cellular ที่ยังเป็น Analog มาเป็นยุค 2 G ใช้ GSM ที่เริ่มเป็น Digital แล้ว ยุค 2.5 ใช้ GPRS ยุค 2.75G ใช้ EDGE ยุค 3G ใช้ WCDMA ยุค 3.5G ใช้ HSDPA ยุค 3.9G ใช้ HSDPA+ โดยสรุปแล้ว 3.9G เร็วกว่า 3G กว่า 20 เท่า แล้ว 3G ก็เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้ว ส่วน 4G ยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดขึ้นในโลก ดังนั้นเราไปได้ไกลสุดก็เพียง 3.9G
ถ้าเราใช้ 3.9G ก็จะเป็นประเทศแรก ๆ ในอาเซียน และให้บริการระยะเดียวกับญี่ปุ่น ระบบนี้ใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz เป็นคลื่นความถี่สากล โดยเราเป็นประเทศที่ 24 ของโลก และเป็นประเทศที่ 4 ของเอเชียที่ใช้คลื่นนี้ ถ้ามีโทรศัพท์ที่รองรับ 3.9G คือ รองรับ HSDPA+ ก็จะโทรศัพท์แบบเห็นกันได้ เล่นอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วถึง 42 Mbps แต่โทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้ยังหาได้ยากในท้องตลาด และมีราคาสูง ซึ่งเชื่อได้ว่าอีกไม่นานเราก็จะได้ใช้ 3.9G กันทุกคน เพราะถ้าผู้ส่งต้องการเห็นภาพของเรา แต่โทรศัพท์ของเรายังเป็นจอสีเดียว คงสื่อสารกันไม่สนุก แล้วเวลานั้นก็คือเวลาที่ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์อีกครั้ง
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
318.
ที่สุดกับ 3.9G โดยทีโอที
317.
3.9G คืออะไร
316.
ต่ออินเทอร์เน็ตแผนสอง
315.
ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลก
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 162 มิลลิวินาที สูง: 1546 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net